ฮาร์ดดิสก์สีแดงที่เกิดมาเพื่อ NAS

เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?!? จุดที่ฮาร์ดดิสก์ในเครื่องคอมพิวเตอร์มีความจุไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานเก็บข้อมูลซะแล้ว หากมองย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีก่อน มีฮาร์ดดิสก์ความจุขนาด 1 กิกะไบต์ใส่ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์นี่ นึกไม่ออกกันเลยทีเดียวว่าจะทำยังไง­ให้ฮาร์ดดิสก์เต็มได้ แต่หมุนนาฬิกากลับมาอีก 20 ปี ปัจจุบันนี้ ฮาร์ดดิสก์ขนาด 4 เทระไบต์นี่ ใช้เพลินๆ เผลอแป๊บเดียวฮาร์ดดิสก์ก็เต็มแล้ว

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ เป็นผลมาจากเทคโนโลยีด้านมัลติมีเดียและความบันเทิงที่ล้ำหน้าและพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ใครๆ ก็สามารถหาคอนเท้นต์ต่างๆ มาดูมาชมได้ง่ายขึ้น  ในขณะเดียวกัน ความต้องการในเรื่องคุณภาพ ความคมชัด และสมจริง ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้วิดีโอความละเอียดแบบ Full HD 1080p แทบจะกลายเป็นมาตรฐานพื้นฐานไปแล้ว สำหรับคนที่ชอบดูภาพยนตร์ความละเอียดสูงจริงๆ ก็ไประดับ Blu-ray หรือ 4K กันหมด ขนาดไฟล์ของภาพยนตร์แต่ละเรื่องเริ่มกันตั้งแต่ระดับ 1-2 กิกะไบต์ ไปจนถึง 20 กว่ากิกะไบต์ ต่อภาพยนตร์หนึ่งเรื่อง และเพลงที่นักฟังเพลงตัวจริงต้องการคุณภาพระดับ Lossless ที่ขนาดไฟล์แต่ละเพลงก็ร่วม 40 เมกะไบต์แล้ว บางคนเก็บไว้เป้นพันเป็นพันเป็นหมื่นเพลง ก็คูณกันเข้าไป และนั่นเป็นคำตอบว่าทำไมฮาร์ดดิสก์ขนาด 4TB ถึงเต็มเร็วได้ไม่ยาก

WD Red Nas_2

ปัจจุบัน ข้อมูลมัลติมีเดียเหล่านี้ มักจะถูกเก็บไว้ในอุปกรณ์จำพวกสื่อบันทึกข้อมูลที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย หรือที่เรียกกันว่า NAS (Network-Attached Storage) เนื่องจากรองรับฮาร์ดดิสก์พร้อมๆ กันหลายลูก รองรับการทำ RAID (Redundant Array of Independent Disks) ที่ช่วยรวมเนื้อที่ในฮาร์ดดิสก์หลายๆ ลูกเข้าด้วยกันได้และมีระบบสำรองข้อมูล ป้องกันข้อมูลสูญหายอันเกิดจากปัญหาด้านฮาร์ดแวร์ นอกจากนี้ NAS ส่วนใหญ่มีคุณสมบัติในการแบ่งปันข้อมูลไปยังอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงการ Streaming ไฟล์มัลติมีเดียด้วย และการสร้างคลาวด์ส่วนตัว (Personal Cloud) ทำให้เราสามารถใช้งานฮาร์ดดิสก์ได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

อย่างไรก็ดี แม้ว่าเราจะเอาฮาร์ดดิสก์อะไรมาใส่ NAS ก็ได้ ขอให้เป็นขนาด 3.5 นิ้วหรือ 2.5 นิ้วก็พอ (ส่วนใหญ่ NAS จะรองรับฮาร์ดดิสก์สองไซส์นี้) หลายคนอาจเลือกที่จะใช้ฮาร์ดดิสก์ทั่วๆ ไปที่ใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แต่ในความเป็นจริง การเลือกใช้ฮาร์ดดิสก์ที่ไม่เหมาะสมกับอุปกรณ์ อาจสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงและคาดไม่ถึงเลยทีเดียว อย่างเช่นการใช้ฮาร์ดดิสก์ทั่วๆ ไปกับอุปกรณ์ NAS อาจส่งผลเสียดังนี้

  • ฮาร์ดดิสก์ทั่วๆ ไปไม่ได้ถูกออกแบบมาใช้งานต่อเนื่องตลอดทั้งวันทั้งคืน ฉะนั้นอายุการใช้งานย่อมสั้นกว่า ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในการเก็บรักษาข้อมูล ซึ่งควรจะเป็นหัวใจสำคัญของ NAS แต่ฮาร์ดดิสก์ที่ออกแบบมาสำหรับใช้งานกับ NAS อย่าง WD Red นั้น ถูกออกแบบมาเพื่อการทำงานในสภาพแวดล้อมของ NAS โดยเฉพาะ ฉะนั้นจึงมีความน่าเชื่อถือในการเก็บรักษาข้อมูลได้มากกว่า
  • ฮาร์ดดิสก์ทั่วๆ ไป ไม่ได้มีการทดสอบความเข้ากันได้ทางฮาร์ดแวร์กับอุปกรณ์ NAS และตัวเฟิร์มแวร์ก็ไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับ NAS ด้วย ส่งผลให้อุปกรณ์ไม่สามารถใช้งานฮาร์ดดิสก์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ ฮาร์ดดิสก์ที่ออกแบบมาสำหรับใช้งานกับ NAS อย่าง WD Red นั้น เฟิร์มแวร์ (ที่ทาง WD เรียกว่า NASware ซึ่งปัจจุบันเป็นเวอร์ชัน 0) ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานกับ NAS จึงให้ประสิทธิภาพในการทำงานที่เต็มที่กว่า และ WD Red ก็ได้รับการทดสอบความเข้ากันได้กับฮาร์ดแวร์ของ NAS แบรนด์ดังๆ ยอดนิยมอย่างครอบคลุม
  • ในการใช้งานกับ NAS มักจะมีการใช้งานในแบบ RAID ด้วย ซึ่งฮาร์ดดิสก์ทั่วๆ ไปนั้นไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการทำงานแบบ RAID แต่ฮาร์ดดิสก์สำหรับ NAS อย่าง WD Red นั้นถูกออกแบบให้ทำงานกับ RAID error recovery control ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ช่วยในการบริหารจัดการข้อผิดพลาดในระหว่างการกู้ข้อมูลบนระบบ RAID ให้ดีขึ้น ดังนั้นจึงย่อมดีกว่าฮาร์ดดิสก์ทั่วๆ ไป
  • ฮาร์ดดิสก์ทั่วไป ถูกออกแบบมาทำงานแบบเดี่ยวๆ หรืออย่างมาก ในเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเครื่องนึงก็อาจจะมีฮาร์ดดิสก์ 2 ลูก ฉะนั้น จึงมักไม่มีปัญหาเรื่องเสียงรบกวนหรือการสั่นสะเทือนของตัวฮาร์ดดิสก์ในระหว่างใช้งาน (ซึ่งหากสั่นสะเทือนมากๆ ก็จะส่งผลต่อการเขียนและอ่านข้อมูล และเสี่ยงต่อการที่หัวอ่านจะไปทำให้จานบันทึกข้อมูลเสียหาย) ดังนั้นฮาร์ดดิสก์พวกนี้จึงมักไม่ได้ถูกออกแบบมาแบบให้มีการสั่นสะเทือนน้อย ผิดกับฮาร์ดดิสก์สำหรับ NAS อย่าง WD Red ที่ออกแบบมาสำหรับระบบ NAS แบบหลายๆ Bay (หมายถึง ใส่ฮาร์ดดิสก์พร้อมๆ กันได้หลายลูก) ซึ่งออกแบบมาเพื่อลดเสียงดังในระหว่างที่ฮาร์ดดิสก์ทำงานและทนต่อการสั่นสะเทือนได้มากกว่า

WDRed8TBและล่าสุด Western Digital ได้เปิดตัวฮาร์ดดิสก์ WD Red ความจุ 8 เทระไบต์ ตัวใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นความจุที่สูงที่สุดในขณะนี้ โดยใช้เทคโนโลยี HeliSeal หรือการใช้ก๊าซฮีเลียม (Helium) ใส่ฮาร์ดดิสก์แทนอากาศ ทำให้สามารถใส่จานฮาร์ดดิสก์ได้มากกว่าเดิม (คือมากถึง 7 แผ่นต่อฮาร์ดดิสก์แต่ละลูก) ส่งผลให้สามารถผลิตฮาร์ดดิสก์ที่ความจุสูงๆ ได้ นอกจากนี้ ก๊าซฮีเลียมยังช่วยให้จานฮาร์ดดิสก์มีแรงเสียดทานน้อยลง ซึ่งช่วยลดอาการสั่นและการเกิดความร้อน อีกทั้งยังใช้พลังงานน้อยลงอีกด้วย ด้วยความจุระดับ 8 เทระไบต์นี้ ก็หมดห่วงเรื่องเนื้อที่เก็บข้อมูลไปได้อีกเยอะเลย แม้จะใช้ NAS แบบ 2-bay ที่ใส่ฮาร์ดดิสก์ได้แค่ 2 ลูก ก็ตาม

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมของ WD Red และสินค้ากลุ่มความจุ 8TB ได้ที่เว็บไซต์บริษัท (www.wdc.com)

Latest

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

Newsletter

Don't miss

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

รวม 22 คีย์ลัด Windows Key ที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นพันเปอร์เซ็นต์

ปุ่ม Windows Key หน้าตาแบบนี้ ไม่ได้มีไว้ใช้แค่เรียกเมนู Start ขึ้นมาเท่านั้นนะครับ แต่ตัวมันใช้เป็นคีย์ลัดสำหรับการการทำงานบนวินโดวส์ได้หลายอย่างมาก วันนี้ผมขอรวบรวมคีย์ลัดของปุ่มนี้...

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime monitoring สมัยนี้มีหลากหลายเจ้า ปกติจะเก็บค่าบริการกันแบบ subscription รายเดือน แต่ถ้าใครไม่อยากจ่ายตังค์ วันนี้ผมมีโซลูชั่น สำหรับใครที่มีการใช้งาน NAS อยู่แล้ว เราจะเอา NAS มาทำเป็น uptime monitoring...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ ใช้มาหลอกเรา ส่งข้อความมาทาง inbox แจ้งว่าเพจทำผิดกฎ หรือ ละเมิดกฎเฟซบุ๊ก ให้กดลิงค์ เพื่อยืนยันตัวตน ไม่งั้นจะบล็อกเพจถาวร พอเรากดลิงค์เข้าไป จะเจอกับหน้าเพจ (คล้าย) เฟซบุ๊ก ซึ่งมีฟอร์มให้เราใส่ข้อมูลต่างๆ รวมถึง ชื่อเพจ อีเมล...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here