รู้ทันไวรัสแอนดรอยด์ที่มาในรูปแบบ SMS

ไวรัสตัวนี้มาแปลก โดยใช่ช่องทางในการกระจายแบบ SMS โดยจะส่งข้อความสั้นๆ พร้อมลิงค์ดาวน์โหลด ข้อความที่ส่งมาอ่านแล้วก็จะออกแนวดึงความสนใจหรือสร้างความตกใจให้กับผู้รับ อาทิ “แจ้งให้ทราบการส่งของคุณ” หรือ “ผลสรุปคดีของคุณ….” เป็นต้น แน่นอนว่าหมายเลขที่ส่งมาจากใครก็ไม่รู้ ไม่ใช่คนรู้จัก แต่สามารถระบุชื่อของเราได้ถูก (หรือคล้ายๆ ) ว่าเป็นใคร ดังนั้นผู้ใช้มือถือที่ตกเป็นเหยื่อหลายคนจึงคลายการป้องกันไประดับหนึ่งเพราะคิดว่ามาจากคนรู้จัก ซึ่งถ้ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็พาลกดลิงค์ที่ได้รับมาโดยทันที เพราะอยากรู้ว่ามันเรื่องอะไรกันแน่ ตัวอย่างข้อความ SMS ก็ดังภาพที่ 1 ครับ

01ภาพที่ 1 ตัวอย่างข้อความ SMS 

ในกรณีนี้เมื่อกดลิงค์เข้ามาแล้ว มือถือจะเปิดเว็บบราวเซอร์และเข้าไปที่หน้าเว็บฝากไฟล์ Dropbox.com ซึ่งมีไฟล์ชื่อประมาณว่า “แจ้ง.apk” หรือ “คดี.apk” เป็นต้น พร้อมปุ่มที่เขียนกำกับว่า Download รอให้คุณคลิกตามภาพที่ 2 ด้วยความน่าเชื่อถือของ Dropbox ที่หลายคนคุ้นเคย (แต่อาจลืมไปว่า Dropbox เป็นบริการให้ฝากไฟล์เฉยๆ ไม่ได้เป็นคนสร้างไฟล์ขึ้นมาเองซะหน่อย) เหยื่อหลายคนก็คลายการป้องกันอีกชั้นและกดลิงค์เพื่อดาวน์โหลดแทบจะทันที

02ภาพที่ 2 หน้าเว็บฝากไฟล์ Dropbox.com จากลิงค์ใน SMS

ก่อนจะไปต่อ ผมขออธิบายเรื่องเกี่ยวกับไฟล์ apk เสียหน่อยครับ ถ้าเป็นระบบวินโดวส์ไฟล์ที่สามารถดับเบิ้ลคลิกแล้วทำงานได้คือไฟล์ที่ต้องมีนามสกุล .exe อันนี้หลายคนน่าจะทราบดีอยู่แล้ว เช่นเดียวกัน บนแอนดรอยด์นั้นไฟล์ที่สามารถทำงานได้คือ .apk ซึ่งก็คือที่มาของแอพต่างๆ ที่เราใช้กันอยู่ในสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ทั่วไป ความง่ายในการติดตั้งแอพต่างๆ บนแอนดรอยด์นั้นง่ายมาก เพียงแค่คุณไปก็อปปี้ไฟล์ .apk ของแอพที่ต้องการมาจากที่ไหนก็ได้และเอามาใส่ในสมาร์ทโฟน จากนั้นใช้แอพประเภทจัดการไฟล์ (file manager) มาสั่งให้มันทำงาน เท่านี้ก็เสร็จ ด้วยความง่ายของระบบทำให้เกิดช่องโหว่ที่ไวรัสสามารถจะแฝงตัวเข้ามาได้ง่ายๆ เช่นกัน

มาต่อกันที่ Dropbox หลังจากที่เราดาวน์โหลดมาแล้วเป็นไฟล์ .apk ระบบแอนดรอยด์จะแจ้งการติดตั้งแอพตามปกติ ซึ่งจะบอกรายละเอียดด้วยว่าแอพนี้มีการเข้าถึงข้อมูลอะไรได้บ้างตามภาพที่ 3 ซึ่งผมเชื่อว่าหลายๆ คนคงไม่เคยอ่านแบบละเอียดและร้อยทั้งร้อยก็กดปุ่ม Install แทบจะทันที ผลที่ตามมาก็คือเราได้ติดตั้งไวรัสไปแล้วเรียบร้อยด้วยความสมัครใจ03

ภาพที่ 3 เมื่อติดตั้งไฟล์จาก Dropbox.com

ทีนี้เรามาลองพิจารณารายละเอียดของแอพที่แจ้งเข้ามาก่อนที่จะติดตั้งตามภาพที่ 3 ก็จะพบสิ่งที่ผิดสังเกตต่างๆ มากมายดังนี้

  1. ชื่อของแอพไม่ได้ชื่อว่า แจ้ง หรืออะไรที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งส่งของ แต่ใช้ชื่อว่า Google Service Framework แต่หลายคนอาจมองข้ามไป เพราะชื่อกูเกิ้ลอาจหลงคิดไปว่าน่าเชื่อถือ แต่ในความเป็นจริงไวรัสก็สามารถปลอมแปลงชื่อได้ครับ
  2. รายละเอียดเกี่ยวกับ Privacy หรือความเป็นส่วนตัว อันนี้ควรดูให้ละเอียดว่าแอพนั้นๆ ต้องการข้อมูลส่วนตัวแบบไหน ไปทำอะไร อย่างไวรัสตัวนี้ บอกชัดเจนเลยครับว่า มันต้องการแก้ไข อ่าน และส่ง SMS ซึ่งอันนี้ผิดปกติอย่างมากเลยทีเดียว
  3. รายละเอียดเกี่ยวกับ Device Access นั้นมีแค่ 2 ข้อ แต่เป็นสองข้อที่ผิดปกติอย่างแรง นั่นคือความต้องการเข้าถึงเครือข่ายแบบเต็มเวลา (Full network access) และต้องการรันตัวเองทุกครั้งที่เปิดเครื่อง (run at startup) ถ้าเป็นแอพเกี่ยวกับการแจ้งการส่งของตามชื่อ ก็ไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องใช้คุณสมบัติเหล่านี้ ถูกไหมครับ

 

จะเห็นว่าถ้าหากเราใช้เวลามานั่งอ่านรายละเอียดตรงนี้เสียก่อน ก็จะสามารถจับพิรุธได้หลายอย่าง และหลีกเลี่ยงที่จะโดนไวรัสได้โดยไม่จำเป็น

ทีนี้ถ้าเกิดว่าคุณดันติดตั้งไปแล้วจะทำอย่างไร? ผลของไวรัสตัวนี้ถ้าอ่านดูตามรายละเอียด และที่ยืนยันจากคนที่โดนกันมาแล้วก็คือ ตัวแอพจะแอบส่งข้อความ SMS ออกไปเองตามรายชื่อและเบอร์โทรที่เราเก็บไว้ในคอนแท็กต์ สิ่งที่ตามมาแน่ๆ ก็คือค่าบิล SMS ที่เหยื่อจะโดนเรียกเก็บสูงผิดปกติ ความเสียหายอื่นๆ นั้นไม่มีแจ้งเพิ่มเติมครับ

 

วิธีแก้ไข

04ภาพที่ 4 ปิดเซอร์วิส Google Service Framework

ไวรัสตัวนี้น่าจะทำขึ้นมาเพราะลองของและกลั่นแกล้งกันมากกว่าที่แฮกเกอร์จะนำไปใช้ประโยชน์จริงๆ ในตอนแรกก่อนติดตั้งเราทราบแล้วว่าตัวแอพชื่อ Google Service Framework ซึ่งก็คือเซอร์วิสหนึ่งในระบบของแอนดรอยด์ เมื่อติดตั้งเข้าไปแล้วจะฝังตัวกลายเป็นเซอร์วิสซึ่งไม่สามารถถอนการติดตั้งได้ในแบบวิธีปกติ ถ้าจะเอาออกต้องไปปิดเซอร์วิส Google Service Framework เสียก่อน โดยการเข้าไปที่เมนู Settings > Device Administrator > Google Service Framework แล้วกดปุ่ม Deactivate เพื่อให้มันหยุดทำงาน (ภาพที่ 4) หลังจากนั้นจึงสามารถอนการติดตั้งได้ตามปกติที่เมนู Settings > App manager (ภาพที่ 5) 05ภาพที่ 5 ถอนการติดตั้ง

วิธีป้องกัน

ตั้งแต่แอนดรอยด์รุ่นที่ 4 เป็นต้น ก็ได้ปรับปรุงระบบความปลอดภัยในตัวเองมากขึ้น โดยเฉพาะการติดตั้งไฟล์ .apk จากภายนอกนั้นต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนพอสมควร อาทิ:

06ภาพที่ 6 ป้องกันการติดตั้งแอพ Unknown sources

  • เมนู Settings > Security > Unknown sources อันนี้มีมาตั้งแต่แรก (ภาพที่ 6) โดยค่าปกติคือมันจะถูกเช็คไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้นำเอาไฟล์ .apk จากภายนอกมาติดตั้งในเครื่องได้ง่ายๆ อย่างไรก็ดีหากมีการติดตั้ง .apk จากภายนอกเกิดขึ้น ระบบก็จะแจ้งผู้ใช้ว่ายังไม่เปิดเมนู Unknow sources อยู่ดี และผู้ใช้ก็จะสามารถเข้าไปเปลี่ยนได้เลย (ภาพที่ 7)
    07ภาพที่ 7 ป้องกันการติดตั้งแอพ Unknown sources
  • เมนู Settings > Security > Verify apps อันนี้เป็นข้อควรระวังที่เพิ่มเข้าในแอนดรอยด์รุ่นใหม่ คือสมมติว่าผู้ใช้ไปเอาติ๊กถูกออกที่เมนู Unknow sources เพื่อยอมให้ติดตั้งได้ แต่ระบบก็จะยังขึ้นเตือนและแจ้งว่าจะมีการส่งข้อมูลไปให้กูเกิ้ลตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่ง ดังภาพที่ 808ภาพที่ 8 ป้องกันการติดตั้งแอพ Unknown sources
  • นอกจากนี้ก่อนที่จะติดตั้งแอพที่ไม่ทราบที่มาลงในเครื่อง ระบบก็จะมีการเตือนก่อนชั้นหนึ่งอยู่แล้วดังภาพที่ 9 แต่ก็ยังคงยอมให้ผู้ใช้สั่งติดตั้งให้อยู่ดีถ้ากด OK
    09ภาพที่ 8 แจ้งเตือนการติดตั้งแอพ Unknown sources
  • การใช้แอพแอนตี้ไวรัสก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี อีกทั้งแอนตี้ไวรัสจากค่ายดังๆ ที่ให้โหลดฟรีใน Play store นั้นก็มีมากมายครับ อาทิ Kaspersky , McAfee, Symantec และอื่นๆ เป็นต้น ควรจะไปโหลดติดเครื่องไว้ก่อนครับ

 

โดยสรุปแล้ว การที่ไวรัสจะแพร่เข้าสู่ระบบแอนดรอยด์ได้นั้น ส่วนใหญ่ก็ยังต้องอาศัยความยินยอมจากผู้ใช้เอง โดยใช้วิธีหลอกลวงต่างๆ นา หรืออาศัยความอยากรู้อยากเห็นของคนเราเป็นเหยื่อล่อ สำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานความรู้เรื่องแบบนี้มาก่อนก็อาจที่จะถูกหลอกได้ง่าย ผมหวังว่ากรณีศึกษาที่ผมยกมาให้อ่านกันในครั้งนี้น่าจะช่วยให้ผู้อ่านได้รู้เท่าทันไวรัสของแอนดรอยด์ได้มากขึ้น และสามารถป้องกันตัวเองได้ในอนาคตนะครับ

Latest

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

Newsletter

Don't miss

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

รวม 22 คีย์ลัด Windows Key ที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นพันเปอร์เซ็นต์

ปุ่ม Windows Key หน้าตาแบบนี้ ไม่ได้มีไว้ใช้แค่เรียกเมนู Start ขึ้นมาเท่านั้นนะครับ แต่ตัวมันใช้เป็นคีย์ลัดสำหรับการการทำงานบนวินโดวส์ได้หลายอย่างมาก วันนี้ผมขอรวบรวมคีย์ลัดของปุ่มนี้...

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime monitoring สมัยนี้มีหลากหลายเจ้า ปกติจะเก็บค่าบริการกันแบบ subscription รายเดือน แต่ถ้าใครไม่อยากจ่ายตังค์ วันนี้ผมมีโซลูชั่น สำหรับใครที่มีการใช้งาน NAS อยู่แล้ว เราจะเอา NAS มาทำเป็น uptime monitoring...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ ใช้มาหลอกเรา ส่งข้อความมาทาง inbox แจ้งว่าเพจทำผิดกฎ หรือ ละเมิดกฎเฟซบุ๊ก ให้กดลิงค์ เพื่อยืนยันตัวตน ไม่งั้นจะบล็อกเพจถาวร พอเรากดลิงค์เข้าไป จะเจอกับหน้าเพจ (คล้าย) เฟซบุ๊ก ซึ่งมีฟอร์มให้เราใส่ข้อมูลต่างๆ รวมถึง ชื่อเพจ อีเมล...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here