ไซแมนเทคเผย มีไวรัสโจมตีระบบลินุกซ์และ ARM แล้ว อุปกรณ์ใกล้ตัวจะไม่ปลอดภัยอีกต่อไป

เป็นไปได้หรือไม่ที่กล้องดูแลเด็กหรือเบบี้มอนิเตอร์อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสอดแนมพฤติกรรมของคุณเสียเอง?  หรือโทรทัศน์ของคุณอาจทำหน้าที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับชมของคุณ?  และเป็นไปได้หรือไม่ที่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์ของคุณถูกแฮกโดยคนร้าย?  หรืออุปกรณ์ที่ดูไม่มีพิษภัยอย่างเช่นกล่องรับสัญญาณหรือเราเตอร์อินเทอร์เน็ตอาจถูกใช้เป็นช่องทางในการเจาะเข้าสู่คอมพิวเตอร์ในบ้านคุณ?

อุปกรณ์จำนวนมากรอบตัวเรากำลังกลายเป็นภัยคุกคามด้านความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น ขณะที่อินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงทุกสิ่ง หรือ Internet of Things (IoT) กลายเป็นความจริง  แล้ว Internet of Things คืออะไร?  โดยพื้นฐานแล้ว เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคสมัยที่นอกเหนือจากคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแล้ว อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบปรับอากาศและไฟส่องสว่างภายในบ้าน และแม้กระทั่งรถยนต์ก็ล้วนรองรับอินเทอร์เน็ตด้วยเช่นกัน  วิสัยทัศน์ในอนาคตก็คือ โลกที่เกือบทุกสิ่งสามารถเชื่อมต่อได้ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงทุกสิ่งเข้าด้วยกัน

พัฒนาการใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้นกำลังรอเราอยู่เบื้องหน้า  บ้านที่มีการเชื่อมต่อ (Connected Home) จะให้คุณสามารถล็อกออนเข้าสู่เครือข่ายภายในบ้านก่อนที่คุณจะออกจากที่ทำงานในตอนเย็นเพื่อเปิดเครื่องปรับอากาศและเตาอบ  หากสัญญาณกันขโมยของดังขึ้นระหว่างที่คุณออกไปทำธุระนอกบ้าน คุณก็สามารถล็อกออนเข้าสู่ระบบรักษาความปลอดภัยภายในบ้านจากสมาร์ทโฟนของคุณ ตรวจสอบภาพจากกล้องวิดีโอวงจรปิด และรีเซ็ตสัญญาณกันขโมยอีกครั้งหากไม่มีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น

อย่างไรก็ดี ทุกการพัฒนาทางเทคโนโลยีใหม่ๆ มักจะนำไปสู่ภัยคุกคามด้านความปลอดภัยในรูปแบบใหม่  ทุกวันนี้ผู้บริโภคส่วนใหญ่รับรู้ว่าคอมพิวเตอร์ของตนเองอาจตกเป็นเป้าหมายการโจมตีของมัลแวร์  นอกจากนี้ยังมีความตื่นตัวเพิ่มมากขึ้นว่าสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่อาจเสี่ยงต่อการถูกโจมตีด้วยเช่นกัน  แต่กระนั้น แทบไม่มีใครตระหนักถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นกับอุปกรณ์อื่นๆ

เวิร์มที่โจมตีระบบลีนุกซ์ Linux worm

Internet of Things ยังคงอยู่ในระยะเริ่มแรก แต่ภัยคุกคามเริ่มปรากฏให้เห็นแล้ว  นายคาโอรุ ฮายาชิ ผู้ตรวจสอบของไซแมนเทค ค้นพบเวิร์ม (Worm) ชนิดใหม่ที่พุ่งเป้าโจมตีคอมพิวเตอร์ที่รันระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux)  คนส่วนใหญ่อาจไม่เคยใช้งานลีนุกซ์ แต่ระบบปฏิบัติการนี้มีบทบาทสำคัญในโลกธุรกิจ และถูกใช้งานอย่างกว้างขวางเพื่อรันระบบเว็บเซิร์ฟเวอร์และเมนเฟรม

ในเบื้องต้น เวิร์ม Linux.Darlloz อาจดูเหมือนเวิร์มทั่วไป ซึ่งใช้จุดอ่อนเดิมๆ ในภาษาสคริปต์ PHP เพื่อเจาะเข้าสู่คอมพิวเตอร์ และพยายามครอบครองสิทธิ์ของผู้ดูแลระบบโดยใช้ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านที่ใช้กันโดยทั่วไป และจากนั้นก็แพร่กระจายตัวเองด้วยการค้นหาคอมพิวเตอร์อื่นๆ  เวิร์มดังกล่าวจะสร้างประตูลับ (back door) ไว้บนคอมพิวเตอร์ที่ติดเชื้อ เพื่อให้ผู้โจมตีสามารถสั่งการคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นได้

เนื่องจากเวิร์มชนิดนี้ใช้จุดอ่อนเดิมๆ ใน PHP ดังนั้นภัยคุกคามนี้จึงต้องพึ่งพาการค้นหาคอมพิวเตอร์ที่ยังไม่ได้ติดตั้งแพตช์เพื่อที่จะก่อให้เกิดการแพร่ระบาด  หากเวิร์มดังกล่าวดำเนินการเพียงแค่นี้ ก็จะไม่สำคัญเท่าใดนัก  แต่ที่จริงแล้ว คาโอรุได้ทำการตรวจสอบเพิ่มเติม และพบบางสิ่งที่น่าสนใจ กล่าวคือ เวอร์ชั่นที่แพร่กระจายอยู่บนเครือข่ายถูกออกแบบมาเพื่อโจมตีเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่ใช้สถาปัตยกรรมชิป Intel x86 ซึ่งมักจะพบอยู่ในคอมพิวเตอร์พีซีและเซิร์ฟเวอร์  จากนั้น   คาโอรุก็พบเวอร์ชั่นที่ออกแบบมาสำหรับสถาปัตยกรรมชิป ARM, PPC, MIPS และ MIPSEL ซึ่งโฮสต์อยู่บนเซิร์ฟเวอร์เครื่องเดียวกันกับเวิร์มต้นฉบับ  สถาปัตยกรรมเหล่านี้มีอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เราเตอร์ที่ใช้งานในบ้าน เครื่องรับสัญญาณ กล้องวิดีโอวงจรปิด และระบบควบคุมด้านอุตสาหกรรม  ผู้โจมตีจึงสามารถเลือกอุปกรณ์ที่จะเป็นเป้าหมายการโจมตีได้ตามต้องการ

สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ เวิร์มชนิดนี้จะสแกนหาเวิร์มลีนุกซ์อีกตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า Linux.Aidra และหากพบไฟล์ที่เชื่อมโยงกับภัยคุกคามนี้ ก็จะพยายามลบไฟล์เหล่านั้น และเวิร์มประเภทนี้ยังพยายามปิดกั้นพอร์ตการสื่อสารที่ Linux.Aidra ใช้อีกด้วย  ที่จริงแล้ว การลบเวิร์มอีกชนิดหนึ่งนี้ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างประโยชน์แก่ผู้ใช้แต่อย่างใด หากแต่เป็นเพราะว่าผู้โจมตีที่ใช้ Linux.Darlloz ทราบว่าอุปกรณ์ที่มีเวิร์ม Linux.Aidra จะมีหน่วยความจำและพลังประมวลผลที่จำกัด และดังนั้นจึงไม่ต้องการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกับมัลแวร์อื่นๆ

Linux.Aidra ซึ่งเป็นมัลแวร์ที่ Linux.Darlloz พยายามจะกำจัด นับเป็นตัวอย่างของภัยคุกคามรุ่นใหม่นี้เช่นกัน โดยจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัย Darlloz บางเวอร์ชั่นที่ไซแมนเทคตรวจพบ นั่นคือ Linux.Aidra พุ่งเป้าโจมตีอุปกรณ์ขนาดเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเคเบิลโมเด็มและ DSL โมเด็ม  เวิร์มดังกล่าวจะใช้อุปกรณ์ประเภทนี้เป็นบอตเน็ต (Botnet) สำหรับการโจมตีแบบ Distributed Denial-of-Service (DDoS)  ใครก็ตามที่สร้าง Darlloz เชื่อว่าการติดเชื้อ Aidra มีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวางจนอาจเป็นภัยคุกคามต่อมัลแวร์ของตนเอง

สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างมากเกี่ยวกับภัยคุกคามประเภทนี้ก็คือ ในหลายๆ กรณี ผู้ใช้อาจไม่ทราบว่าอุปกรณ์ของตนเองกำลังรันระบบปฏิบัติการที่เสี่ยงต่อการถูกโจมตี  อย่างไรก็ดี ซอฟต์แวร์ดังกล่าวมักถูกซ่อนไว้ในอุปกรณ์ และปัญหาอีกประการหนึ่งก็คือ ผู้ผลิตอุปกรณ์ไม่ได้จัดหาอัพเดตให้แก่ลูกค้า อาจเป็นเพราะฮาร์ดแวร์มีข้อจำกัดหรือเทคโนโลยีล้าสมัย เช่น ไม่สามารถรันซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ได้

กล้องวงจรปิดที่มีจุดอ่อน

เวิร์มชนิดนี้คือกรณีล่าสุดที่เน้นย้ำถึงภัยคุกคามด้านความปลอดภัยสำหรับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงทุกสิ่ง  ช่วงต้นปีที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการการค้าของสหรัฐฯ ได้ตัดสินคดีฟ้องร้องต่อ TRENDnet ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตกล้องวงจรปิดและกล้องดูแลเด็กที่รองรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยคณะกรรมาธิการระบุว่า TRENDnet ทำตลาดโดยระบุว่ากล้องมีความปลอดภัย “แต่ในความเป็นจริงแล้ว กล้องดังกล่าวมีซอฟต์แวร์ที่บกพร่องจนเปิดโอกาสให้ใครก็ตามที่ล่วงรู้อินเทอร์เน็ตแอดเดรสของกล้องสามารถรับชมภาพวิดีโอและฟังเสียงผ่านทางออนไลน์ได้” และ “ความบกพร่องที่ว่านี้ส่งผลให้ข้อมูลจากกล้องส่วนตัวของผู้บริโภคหลายร้อยรายถูกเผยแพร่แก่สาธารณชนผ่านทางอินเทอร์เน็ต”

เมื่อเดือนมกราคม 2555 บล็อกเกอร์รายหนึ่งได้เปิดเผยถึงข้อบกพร่องดังกล่าว และผลปรากฏว่ามีผู้ใช้เผยแพร่ลิงค์สำหรับการดูภาพวิดีโอแบบสดจากกล้องวงจรปิดเกือบ 700 ตัว “ภาพวิดีโอดังกล่าวแสดงภาพของเด็กทารกที่กำลังนอนหลับอยู่ในเปล เด็กเล็กกำลังเล่นสนุก และผู้ใหญ่ที่กำลังทำกิจวัตรประจำวัน” คณะกรรมาธิการกล่าวผลการตัดสินคดีดังกล่าวกำหนดให้บริษัทผู้ผลิตต้องปรับปรุงความปลอดภัยของอุปกรณ์ และให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่กล่าวอ้างเกินจริงในเรื่องความปลอดภัยในข้อมูลส่งเสริมการขายในอนาคต

สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับกรณีของ TRENDnet ก็คือ อุปกรณ์เป้าหมายไม่ได้ติดเชื้อจากมัลแวร์ใดๆ แต่การตั้งค่าความปลอดภัยของอุปกรณ์เปิดโอกาสให้ใครก็ตามสามารถเข้าใช้อุปกรณ์ได้ง่ายๆ เพียงแค่รู้วิธีเท่านั้น  นี่ไม่ใช่กรณีที่เกิดขึ้นเพียงลำพัง เพราะในปัจจุบันมีเสิร์ชเอนจิ้นที่ชื่อว่า Shodan ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาอุปกรณ์มากมายที่รองรับอินเทอร์เน็ต

Shodan ค้นหาอุปกรณ์ต่างๆ แทนที่จะค้นหาเว็บไซต์  นอกเหนือจากกล้องวงจรปิดและอุปกรณ์ภายในบ้านประเภทอื่นๆ แล้ว Shodan ยังสามารถค้นหาระบบควบคุมเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร โรงบำบัดน้ำเสีย รถยนต์ ไฟจราจร เครื่องตรวจวัดการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ และระบบควบคุมโรงไฟฟ้า  หากอุปกรณ์ถูกตรวจพบโดย Shodan ก็ไม่ได้หมายความว่าอุปกรณ์นั้นมีจุดอ่อน  แต่ Shodan และบริการอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันช่วยเพิ่มความสะดวกในการค้นหาอุปกรณ์ หากว่าผู้โจมตีล่วงรู้ถึงจุดอ่อนในอุปกรณ์นั้นๆ

โลกที่เชื่อมต่อถึงกัน

ปัญหาบางอย่างอาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับจุดอ่อนด้านความปลอดภัยเสมอไป กล่าวคือ โทรทัศน์ที่รองรับอินเทอร์เน็ตได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และมีฟีเจอร์เพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ เช่น การเข้าถึงบริการวิดีโอสตรีมมิ่ง และการท่องเว็บ  เมื่อไม่นานมานี้ ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ LG ยืนยันว่า โทรทัศน์หลายรุ่นมีการตรวจสอบติดตามสิ่งที่ผู้ใช้รับชมและส่งข้อมูลโดยรวมกลับไปยังบริษัท  เหตุผลที่ LG ทำเช่นนั้นก็เพื่อที่จะปรับแต่งโฆษณาให้สอดรับกับรสนิยมของลูกค้า  อย่างไรก็ตาม ข้อผิดพลาดในระบบส่งผลให้โทรทัศน์ยังคงเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างต่อเนื่องแม้กระทั่งเมื่อฟีเจอร์ถูกปิดการใช้งาน  บริษัทกำลังจัดเตรียมอัพเดตสำหรับเฟิร์มแวร์เพื่อแก้ไขปัญหานี้

 Internet of Things 1

รูปที่ 1. ประมาณการเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อทั่วโลก (ที่มา: ซิสโก้)

เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงทุกสิ่งยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้น และจำนวนอุปกรณ์ที่รองรับอินเทอร์เน็ตก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  ซิสโก้ระบุว่าปัจจุบัน มีอุปกรณ์เชื่อมต่อกว่า 10,000 ล้านเครื่องบนโลกใบนี้ ขณะที่ประชากรโลกมีจำนวนราว 7,000 ล้านคน นั่นหมายความว่าทุกวันนี้อุปกรณ์เชื่อมต่อมีจำนวนมากเกินกว่าจำนวนประชากรเสียอีก  ซิสโก้ซึ่งสำรวจตรวจสอบจำนวนอุปกรณ์อย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าจำนวนอุปกรณ์เชื่อมต่อจะแตะระดับ 50,000 ล้านเครื่องภายในปี 2563  ที่น่าสนใจก็คือ บริษัทเชื่อว่าประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของการเติบโตนี้จะเกิดขึ้นในช่วง 3 ปีสุดท้ายของทศวรรษนี้

ภายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นอุปกรณ์เชื่อมต่อหลากหลายประเภทถือกำเนิดขึ้น  ตัวอย่างเช่น ทุกวันนี้เครื่องควบคุมอุณหภูมิธรรมดาๆ ก็สามารถเชื่อมต่อเว็บได้ รวมไปถึงหลอดไฟ ซึ่งตอนนี้สามารถควบคุมได้ด้วยสมาร์ทโฟน  แม้กระทั่งอุตสาหกรรมยานยนต์ก็ยังตื่นตัว โดยมีแผนที่จะนำเสนอรถยนต์ที่รองรับการเชื่อมต่อ สามารถรับข้อมูลแบบเรียลไทม์

อะไรคือปัจจัยที่กระตุ้นการขยายตัวอย่างรวดเร็วนี้?  กล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือ มี “ที่ว่าง” บนอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น และอุปกรณ์ต่างๆ ก็มีต้นทุนการผลิตที่ถูกลง  ทุกอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตต้องใช้แอดเดรสในการติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์อื่นๆ  แอดเดรสที่ว่านี้เรียกว่า อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล (ไอพี) แอดเดรส  จำนวนแอดเดรสที่พร้อมใช้งานภายใต้ระบบแอดเดรสปัจจุบัน หรือ Internet Protocol Version 4 (IPv4) ใกล้จะหมดแล้ว จึงมีการปรับใช้ระบบใหม่ นั่นคือ IPv6 ซึ่งสามารถจัดหาไอพีแอดเดรสได้มากกว่าหลายเท่า หลายพันล้านแอดเดรสสำหรับประชากรแต่ละคนบนโลกใบนี้

นอกจากนี้ มีการพัฒนามาตรฐานอื่นๆ เช่นกัน  ตัวอย่างเช่น หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลมาตรฐาน Bluetooth สำหรับการสื่อสารไร้สายได้เปิดตัวเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดของเทคโนโลยีนี้ ซึ่งพร้อมรองรับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงทุกสิ่งเข้าด้วยกัน โดยมาตรฐาน Bluetooth รุ่นใหม่นี้จะเพิ่มความสะดวกในการค้นหาและสื่อสารกับอุปกรณ์ต่างๆ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์มากมาย ทั้งยังเพิ่มความสะดวกในการเชื่อมโยงอุปกรณ์ Bluetooth เข้ากับอินเทอร์เน็ตที่รองรับ IPv6

พร้อมกับการขยายตัวของพื้นที่เครือข่าย อุปกรณ์ที่รองรับอินเทอร์เน็ตก็สามารถผลิตได้ง่ายขึ้น  หลายคนอาจรู้จักกฎของมัวร์ (Moore’s Law) ซึ่งคาดการณ์ว่าพลังประมวลผลของโปรเซสเซอร์จะเพิ่มขึ้นสองเท่าทุกๆ สองปี  ข้อพิสูจน์ก็คือ ชิปที่กินไฟน้อยมีต้นทุนการผลิตลดลงเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป  เทคโนโลยีอื่นๆ เช่น ชิปเซ็ต Wifi มีราคาถูกลงอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา  ปัจจัยทั้งหมดนี้จะช่วยให้การผลิตอุปกรณ์ที่รองรับอินเทอร์เน็ตสามารถทำได้ง่ายขึ้นและมีต้นทุนถูกลง

ปกป้องอย่างต่อเนื่อง

  • ดำเนินการตรวจสอบว่าคุณมีอุปกรณ์อะไรบ้าง เพียงเพราะว่าอุปกรณ์ไม่มีหน้าจอหรือคีย์บอร์ด ไม่ได้หมายความว่าอุปกรณ์นั้นไม่เสี่ยงต่อการถูกโจมตี
  • หากอุปกรณ์บางอย่างเชื่อมต่อกับเครือข่ายในบ้านคุณ อุปกรณ์นั้นก็สามารถเข้าใช้งานผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ และดังนั้นจึงต้องได้รับการคุ้มครองความปลอดภัย
  • ตรวจสอบการตั้งค่าความปลอดภัยบนอุปกรณ์ที่คุณซื้อ  หากอุปกรณ์นั้นสามารถเข้าใช้งานผ่านการเชื่อมต่อระยะไกล ก็ควรปิดการใช้งานฟีเจอร์นี้หากไม่จำเป็นต้องใช้  เปลี่ยนรหัสผ่านที่ตั้งมาพร้อมกับอุปกรณ์ให้เป็นรหัสผ่านที่คุณรู้เพียงคนเดียว อย่าใช้รหัสผ่านทั่วไปหรือรหัสผ่านที่คาดเดาได้ง่าย เช่น “123456” หรือ “password”  ทางที่ดีควรใช้รหัสผ่านที่ประกอบด้วยทั้งตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์
  • ตรวจสอบเว็บไซต์ของผู้ผลิตอย่างสม่ำเสมอเพื่อดูว่ามีอัพเดตสำหรับซอฟต์แวร์ของอุปกรณ์หรือไม่  หากมีการตรวจพบจุดอ่อนด้านความปลอดภัย ผู้ผลิตก็มักจะแก้ไขจุดอ่อนนั้นในอัพเดตรุ่นใหม่สำหรับซอฟต์แวร์

มีอุปกรณ์มากมายที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายในบ้านคุณ และเครือข่ายนี้ก็เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอีกทีหนึ่ง  ส่วนเราเตอร์/โมเด็มก็คั่นกลางระหว่างอุปกรณ์ของคุณกับโลกภายนอก  การปกป้องเราเตอร์/โมเด็มจึงนับเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะมีไฟร์วอลล์ติดตั้งอยู่ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการเปิดใช้งานและกำหนดค่าไฟร์วอลล์อย่างเหมาะสม

 

 

Latest

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

Newsletter

Don't miss

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

รวม 22 คีย์ลัด Windows Key ที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นพันเปอร์เซ็นต์

ปุ่ม Windows Key หน้าตาแบบนี้ ไม่ได้มีไว้ใช้แค่เรียกเมนู Start ขึ้นมาเท่านั้นนะครับ แต่ตัวมันใช้เป็นคีย์ลัดสำหรับการการทำงานบนวินโดวส์ได้หลายอย่างมาก วันนี้ผมขอรวบรวมคีย์ลัดของปุ่มนี้...

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime monitoring สมัยนี้มีหลากหลายเจ้า ปกติจะเก็บค่าบริการกันแบบ subscription รายเดือน แต่ถ้าใครไม่อยากจ่ายตังค์ วันนี้ผมมีโซลูชั่น สำหรับใครที่มีการใช้งาน NAS อยู่แล้ว เราจะเอา NAS มาทำเป็น uptime monitoring...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ ใช้มาหลอกเรา ส่งข้อความมาทาง inbox แจ้งว่าเพจทำผิดกฎ หรือ ละเมิดกฎเฟซบุ๊ก ให้กดลิงค์ เพื่อยืนยันตัวตน ไม่งั้นจะบล็อกเพจถาวร พอเรากดลิงค์เข้าไป จะเจอกับหน้าเพจ (คล้าย) เฟซบุ๊ก ซึ่งมีฟอร์มให้เราใส่ข้อมูลต่างๆ รวมถึง ชื่อเพจ อีเมล...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here