แบ่ง แยก ขยาย พื้นที่ฮาร์ดดิสก์สบายดี ไม่ต้องมีนายหน้า

โดย Khonit ([email protected])
จัดการพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ได้ง่ายๆ เพียงแค่คลิกเมาส์ไป-มา ซ้าย หรือขวา ด้วยขั้นตอนเหล่านี้ ก็สามารถ ย่อ ขยาย ลบ ฟอร์เมต พื้นที่ฮาร์ดดิสก์ได้แล้ว และมีนัยสำคัญคุณคนเดียวก็จัดการพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ได้อย่างอยู่หมัด โดยไม่จำเป็นต้องมีนายหน้า…

         พื้นที่ฮาร์ดดิสก์หากยังไม่มีการจัดการหรือจัดสรรปั่นส่วน ไม่ว่าจะเป็น แบ่ง ย่อ ขยาย ลบ ฟอร์เมตก็ตาม พื้นที่ฮาร์ดดิสก์ก็จะยังไม่สามารถใช้งานได้ จนกว่าจะมีการจัดการพื้นที่ฮาร์ดดิสก์นี้เสียก่อน ซึ่งหากพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ถูกจัดการตามขบวนการข้างต้นแล้ว มันจะถูกเรียกว่า พาร์ทิชั่น (Partition) อย่างไรก็ตามถ้าให้คำนิยามของพาร์ทิชั่น ก็คงหมายถึง ขนาดของพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ที่ถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆที่ใช้สำหรับการติดตั้งวินโดวส์ โปรแกรม และเก็บข้อมูล โดยผ่านขั้นตอนการฟอร์เมตเรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าต้องการใช้งานพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ในการเก็บข้อมูล พื้นที่ฮาร์ดดิสก์นั้นจำเป็นต้องผ่านขบวนการฟอร์เมตแล้วนั่นเอง ดังนั้นการที่จะจัดการพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ได้นั้น คุณจำเป็นต้องมีเครื่องมือสำหรับจัดการพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ที่ต้องการใช้งานก่อน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือที่ติดมาพร้อมกับตัววินโดวส์และเครื่องมือสำหรับจัดการเรื่องนี้โดยเฉพาะ (Third Party) ตัวอย่างเช่น Disk Management, Easeus Partition Master และ Partition Wizard เป็นต้น ส่วนประเภทของพาร์ติชั่นแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

– Primary Partition = เป็นพาร์ติชั่นหลักที่ใช้สำหรับติดตั้งวินโดวส์และโปรแกรม โดยในฮาร์ดดิสก์หนึ่งตัวจะสามารถกำหนด Primary Partition หรือพาร์ติชั่นหลักได้เพียง 4 พาร์ติชั่นเท่านั้น ซึ่งพาร์ติชั่นหลักตัวที่ 4 จะถูกกำหนดให้เป็น Extended Partition และพาร์ติชั่นหลักตัวที่ 1 จะถูกกำหนดให้อยู่ในสถานะ Active พร้อมทั้งสร้าง Master Boot Record (MBR) เพื่อใช้สำหรับบูตเข้าวินโดวส์ สำหรับพาร์ติชั่นนี้ส่วนมากมักจะหมายถึงไดร์ฟ C

– Extended Partition = เป็นพาร์ติชั่นส่วนเสริมหรือขยายโดยแทนที่หนึ่งในสี่ของพาร์ติชั่นหลัก ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถกำหนดหรือเพิ่มเติมพาร์ติชั่นขยายนี้ได้ถึง 24 พาร์ติชั่น สำหรับพาร์ติชั่นที่ถูกแบ่งออกเป็นพาร์ติชั่นย่อยๆเพิ่มเติมภายใต้ Extended Partition เราจะเรียกว่า ลอจิคัล (Logical Partition)

– Logical Partition = เป็นพาร์ติชั่นที่ถูกแบ่งหรือจัดสรรออกเป็นพาร์ติชั่นย่อยๆได้ถึง 24 พาร์ติชั่นซึ่งอยู่ภายใต้ Extended Partition โดยพาร์ติชั่นเหล่านี้จะถูกใช้สำหรับเก็บไฟล์หรือข้อมูลต่างๆ เช่น โปรแกรม เอกสาร เพลง หนัง เป็นต้น นอกจากใช้เก็บไฟล์หรือข้อมูลต่างๆแล้วยังสามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการอื่นๆเพิ่มเติมได้ด้วย สำหรับพาร์ติชั่นนี้ส่วนมากมักจะหมายถึงไดร์ฟ D ถึง Z

ทำไม่ต้องแบ่งพาร์ติชั่น

                สำหรับเหตุผลที่จำเป็นต้องแบ่งพาร์ติชั่นและทำไมต้องแบ่งพาร์ติชั่นออกเป็นหลายๆพาร์ติชั่น เพียงพาร์ติชั่นเดียวน่าจะเพียงพอต่อการใช้งาน แต่นี้คือเหตุผลว่าทำไมต้องแบ่งพาร์ติชั่น ซึ่งรายละเอียดก็จะมีดังต่อไปนี้

– จัดระบบหรือรูปแบบไฟล์ (File System) การใช้งานฮาร์ดดิสก์ทุกครั้งจำเป็นต้องจัดการแบ่งพาร์ติชั่นเพื่อจัดรูปแบบไฟล์ในการเก็บข้อมูลของพาร์ติชั่นนั้นๆ ซึ่งจะมีหลายรูปแบบให้คุณได้เลือกใช้งาน เช่น FAT, FAT32, NTFS และอื่นๆ เป็นต้น โดยคุณสมบัติของรูปแบบไฟล์เหล่านี้ก็จะมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นขนาดลัสเตอร์ (Cluster), ความปลอดภัย และรูปแบบไฟล์เหล่านี้ต้องขึ้นอยู่กับขนาดของฮาร์ดดิสก์รวมทั้งระบบปฏิบัติการที่ใช้งานด้วย

– ขนาดของพาร์ติชั่น (Partition Size) คุณสามารถแบ่งขนาดพาร์ติชั่นให้ตรงกับการใช้งานได้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้งานพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ได้อย่างเหมาะสมกับระบบปฏิบัติการที่ต้องการติดตั้งไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่นเก่าหรือใหม่และโปรแกรมต่างๆ เพราะฉนั้นการแบ่งขนาดของพาร์ติชั่นให้ถูกต้องกับการใช้งานก็ช่วยให้คุณใช้ประโยชน์จากพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ได้อย่างคุ้มค่า

– ติดตั้งหลายระบบปฏิบัติการ (Multiple Operation Systems) หากคุณต้องการติดตั้งระบบปฏิบัติการหลายระบบปฏิบัติการในฮาร์ดดิสก์ตัวเดียว สิ่งหนึ่งที่ต้องทำก็คือการแบ่งพาร์ติชั่น เพราะว่าระบบปฏิบัติการบางตัวจะใช้ระบบหรือรูปแบบไฟล์ (File System) ที่ไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้ เช่น การติดตั้งระบบปฏิบัติการลีนุกซ์และวินโดวส์ร่วมกัน เป็นต้น

– สูญเสียพื้นที่ว่างในฮาร์ดดิสก์ (Wasted Disk Space) การติดตั้งวินโดวส์และเก็บไฟล์หรือข้อมูลกับระบบไฟล์บนพาร์ติชั่นขนาดใหญ่ก็จะส่งผลให้เกิดการสูญเสียพื้นที่ฮาร์ดดิสก์โดยใช่เหตุ เพราะฉนั้นการแบ่งพาร์ติชั่นมากกว่าหนึ่งพาร์ติชั่นก็ย่อมจะช่วยลดปริมาณการสูญเสียพื้นที่กับระบบไฟล์แบบต่างๆของพาร์ติชั่น

 – แยกไฟล์ระบบออกจากไฟล์ใช้งาน (Separate System File) การแบ่งพาร์ติชั่นเพื่อแยกไฟล์ระบบและโปรแกรมออกจากไฟล์หรือข้อมูลที่ใช้งาน ก็ช่วยให้พื้นที่พาร์ติชั่นที่ถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการมีพื้นที่ว่างเพียงพอต่อการใช้งาน และไม่ก่อให้เกิดความสับสนระหว่างไฟล์ระบบกับไฟล์ใช้งาน ซึ่งหากเกิดปัญหาขึ้นกับระบบปฏิบัติการก็จะช่วยให้คุณสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง

จัดการพาร์ทิชั่นฮาร์ดดิสก์ด้วย Disk Management

                Disk management เป็นเครื่องมือที่มาพร้อมกับวินโดวส์ ที่ให้คุณสามารถจัดการพาร์ทิชั่นฮาร์ดดิสก์ได้เช่นกัน แต่ฟีเจอร์การใช้งานอาจจะไม่หยืดหยุ่นมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องมือจัดการด้านนี้โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามมันก็ยังสามารถ ลบ แบ่ง ฟอร์เมต เซ็ต Active พาร์ทิชั่นฮาร์ดดิสก์ได้เช่นกัน และในขั้นตอนนี้มาดูการแบ่งพาร์ทิชั่นฮาร์ดดิสก์ด้วย Disk Management กันได้เลย ก่อนอื่นให้คลิกขวา My Computer และเลือกเมนู Manager ก็จะปรากฏหน้าต่าง Computer Management ภายใต้หัวข้อ Storage ทางด้านซ้าย ให้คลิกเลือก Disk Management โดยจะแสดงฮาร์ดดิสก์ทั้งหมดที่ถูกติดตั้งบนพีซี  จากนั้นให้คลิกขวาเลือกฮาร์ดดิสก์ที่ต้องการแบ่งพาร์ทิชั่น และเลือกเมนู Shrink Volume ซึ่งในขั้นตอนสุดท้ายคุณก็สามารถกำหนดขนาดพาร์ทิชั่นฮาร์ดดิสก์ได้ตามต้องการ (วิธีการนี้ใช้ได้เฉพาะบนวินโดวส์เซเวนเท่านั้น) ดังรูปที่ 1

Converted 1

รูปที่ 1 การแบ่งพาร์ทิชั่นฮาร์ดดิสก์ด้วยเครื่องมือ Disk Management

จัดการฮาร์ดดิสก์ไร้ขีดกำจัดด้วย EASEUS Partition Master Home Edition

                EASEUS Partition Master เป็นโปรแกรมอีกโปรแกรมหนึ่งที่ช่วยให้คุณสามารถจัดการฮาร์ดดิสก์ได้อย่างง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง ลบ แบ่ง ย่อ ขยาย รวม คัดลอกพาร์ทิชั่น และคัดลอกฮาร์ดดิสก์ทั้งลูก เป็นต้น โดยมันจะถูกติดตั้งและใช้งานบนวินโดวส์ แต่ก่อนที่จะเริ่มต้นใช้งานโปรแกรมนี้มาดูฟีเจอร์หรือคุณสมบัติของโปรแกรมนี้ว่ามีอะไรให้ใช้งานบ้าง รับรองได้ว่ามันจะทำให้ชีวิตคุณง่ายขึ้น ซึ่งรายละเอียดก็จะมีดังต่อไปนี้

– ขยายพาร์ทิชั่น NTFS ของฮาร์ดดิสก์ โดยไม่ต้องรีบูตพีซี
– ปรับขนาด/ย้ายพาร์ทิชั่น โดยข้อมูลจะไม่สูญหาย
– สามารถแบ่งและรวมพาร์ทิชั่นของฮาร์ดดิสก์
– สนับสนุนอุปกรณ์เก็บข้อมูลภายนอก เช่น แฟลชไดร์ฟ เป็นต้น
– แปลง Primary เป็น Logical พาร์ทิชั่น
– แปลง Logical เป็น Primary พาร์ทิชั่น
– แปลง Dynamic เป็น Basic ดิสก์
– สนับสนุนการแบ่งพาร์ทิชั่นแบบ GPT
– แปลงไฟล์ระบบแบบ FAT เป็น NTFS พาร์ทิชั่น
– ลบและกำจัดพาร์ทิชั่นที่ต้องการทำลายข้อมูล
– สร้าง MBR (Master Boot Record) เพื่อบูตระบบอีกครั้ง
– จัดเรียงข้อมูลของฮาร์ดดิสก์เพื่อเพิ่มความเร็วให้กับฮาร์ดดิสก์
– กำจัดข้อมูลที่สำคัญได้อย่างหมดจดบนดิสก์ที่ไม่ต้องการ( Wipe Disk)
– สามารถตรวจสอบและค้นหาเซ็กเตอร์ที่เสียหายของฮาร์ดดิสก์
– จัดการพาร์ทิชั่นลีนุกซ์ เช่น ลบ สร้าง ฟอร์แมต กู้คืนพาร์ทิชั่น
– สามารถจัดการพาร์ทิชั่นได้อย่างง่ายดายเพียงลากเมาส์และวางเท่านั้น
– สนับสนุนการใช้งานฮาร์ดดิสก์แบบ RAID
– คัดลอกพาร์ทิชั่นได้อย่างรวดเร็วและป้องกันข้อมูลของคุณ
– คัดลอกฮาร์ดดิสก์ทั้งลูกไปยังฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่ โดยไม่ต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ใหม่
– คัดลอก Dynamic ไปยัง Basic ดิสก์ได้อย่างปลอดภัยและสามารถปรับขนาดของ Basic ดิสก์ได้ด้วย
– การกู้คืนพาร์ทิชั่นที่ถูกลบหรือสูญหาย
– การกู้คืนพาร์ทิชั่นที่เสียหายหลังจากจัดการพาร์ทิชั่น (Repartitioned)
– สนับสนุนการใช้งานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 2000/ XP/Vista และ 7 เฉพาะ 32 บิต เท่านั้น
– สามารถดาว์นโหลดโปรแกรมนี้ได้ฟรีที่เว็บไซต์ https://www.partition-tool.com/download.htm

แบ่งพาร์ทิชั่นให้กับฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่

             การเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่แทนฮาร์ดดิสก์ตัวเก่านั้น คุณจำเป็นต้องจัดการพื้นที่ฮาร์ดดิสก์เสียก่อน โดยขั้นตอนการแบ่งพาร์ทิชั่นก็จะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ เมื่อติดตั้งโปรแกรมเสร็จแล้ว ก็ให้เปิดโปรแกรมนี้ขึ้นมาได้แล้ว ซึ่งคุณก็จะสังเกตุเห็นฮาร์ดดิสก์ที่มีสถานะเป็นสีเทาและมีข้อความแสดงว่า Unallocated ซึ่งหมายถึงฮาร์ดดิสก์ที่ยังไม่มีการจัดการพาร์ทิชั่นหรือทำการแบ่งพื้นที่ใช้งาน ให้คุณคลิกขวาที่ฮาร์ดดิสก์ และเลือกเมนู Create เพื่อสร้างพาร์ทิชั่นให้กับฮาร์ดดิสก์นั้น จากนั้นในหน้าไดอะล็อกบล็อก Create Partition จะให้คุณระบุขนาดและตำแหน่งของพาร์ทิชั่นฮาร์ดดิสก์พร้อมทั้งรายละเอียดอื่นๆ ซึ่งประกอบไปด้วย Partition Label = ระบุชื่อพาร์ทิชั่นที่สร้างขึ้น โดยสามารถระบุชื่ออะไรก็ได้ตามที่คุณต้องการ, Create AS = ให้คุณเลือก Primary Partition เพราะเป็นพาร์ทิชั่นที่ใช้สำหรับติดตั้งวินโดวส์, Drive Letter = ระบุลำดับไดร์ฟ โดยปกติแล้วมันจะถูกเรียงต่อจากลำดับไดร์ฟที่มีอยู่แล้วบนพีซี เช่น  ไดร์ฟ C, ไดร์ฟ D, ไดร์ฟ E เป็นต้น File System = ระบุชนิดหรือรูปแบบของไฟล์ที่ใช้เก็บข้อมูล ให้เลือกเป็น NTFS, Cluster Size = ระบุขนาดของ Cluster ที่ใช้เก็บข้อมูล ให้ใช้ค่าดีฟอลน์, Size and Partition = ปรับขนาดความจุของพาร์ทิชั่น ในขั้นตอนนี้ผมจะกำหนดให้ Primary partition มีขนาด 80 กิกะไบต์ โดยการลากเมาส์บนพาร์ทิชั่นตามลูกศรซ้ายขวาให้ได้ขนาดตามต้องการ หรือคุณสามารถกำหนดขนาดของพาร์ทิชั่นได้อีกวิธีหนึ่งด้วยการระบุขนาดพาร์ทิชั่นได้โดยตรงในช่อง Unallocate Space Before, Partition Size และ Unallocate Space After เมื่อระบุค่าต่างๆเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกปุ่ม OK ดังรูปที่ 1

 Converted 2

รูปที่ 1 แสดงการระบุค่าต่างๆในการสร้างพาร์ทิชั่น (Create Partition)

           โปรแกรม EASEUS Partition Master Home Edition ก็จะทำการแบ่งพาร์ทิชั่นให้มีขนาดความจุหรือพื้นที่เก็บข้อมูลเท่ากับขนาดความจุที่คุณกำหนดในขั้นตอนที่ผ่านมา จากนั้นคลิกขวาบนพาร์ทิชั่นที่พึ่งสร้างขึ้นมาก่อนหน้านี้ จากนั้นเลือกเมนู Advanced และเมนู Set Active ตามลำดับ เพื่อกำหนดให้พาร์ทิชั่นนี้เป็นพาร์ทิชั่นแรกที่ใช้บูตระบบ เมื่อกำหนดรายละเอียดในส่วนต่างๆเรียบร้อยแล้ว ให้คุณคลิกปุ่ม Apply เพื่อยืนยันการรับคำสั่งหรือขบวนการทั้งหมดจากขั้นตอนที่ผ่านมา เพื่อสร้าง Primary Partition สำหรับติดตั้งวินโดวส์ จากนั้นก็จะปรากฏหน้าไดอะล็อกบล็อก Apply Change เพื่อยืนยันการเปลี่ยนแปลงหรือสร้างพาร์ทิชั่นใหม่อีกครั้ง ให้คลิกปุ่ม Yes ดังรูปที่ 2

Converted 3

รูปที่ 2 แสดงการกำหนดค่า Active ให้กับพาร์ทิชั้นหลัก (Primary Partition)

จัดการพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ได้สบายๆหายห่วงด้วย Partition Wizard

                Partition Wizard Home Edition ก็เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยจัดการพาร์ทิชั่นฮาร์ดดิสก์ได้อย่างสบาย หายห่วง แบบว่าไม่ต้องพึ่งนายหน้าคุณสามารถจัดการมันได้ด้วยตัวเอง ซึ่งมันมีความสามารถมากมายที่ช่วยให้ย่อ ขยาย แบ่ง แยก ลบ ก็อปปี้ ฟอร์เมต แปลงพาร์ทิชั่น และอื่นๆ ได้ภายในพริบตา แต่มาดูกันก่อนว่าความสามารถมีอะไรกันบ้าง ความสามารถหรือที่เรียกว่าฟีเจอร์ก็ประกอบไปด้วย

– สนับสนุน Windows 7 2000/XP/Vista/windows (32 บิตและ 64 บิต) ระบบปฏิบัติการ

– สนับสนุนการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์แบบ RAID

– ขยายพาร์ทิชั่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพีซี

– การจัดการฮาร์ดดิสก์สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่สำคัญในส่วนอื่นๆ

– สร้าง ลบ และ จัดรูปแบบพาร์ทิชั่นด้วยขั้นตอนง่ายๆ

– คัดลอกฮาร์ดดิสก์ดิสก์เพื่อป้องกันหรือถ่ายโอนข้อมูล

– สามารถสนับสนุนและขนาดพาร์ทิชั่นฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดใหญ่กว่า 2 TB

– การแปลงพาร์ทิชั่นจากรูปแบบไฟล์ FAT เป็น NTFS

– คัดลอกพาร์ทิชั่นทั้งหมดของฮาร์ดดิสก์หนึ่งไปยังอีกพาร์ทิชั่นหนึ่ง

– คัดลอกฮาร์ดดิสก์ทั้งลูกไปยังฮาร์ดดิสก์อีกลูกโดยไม่ต้องติดตั้ง Windows ใหม่ด้วยตัวช่วยสร้าง (Wizard)

– ซ่อน / ยกเลิกการซ่อนพาร์ทิชั่น, การตั้งค่าพาร์ทิชั่นที่ใช้งาน

– แสดงไฟล์ในรูปแบบ Windows Explorer ซึ่งสนับสนุนระบบไฟล์แบบ FAT / NTFS

– การตั้งค่าพาร์ทิชั่นให้เป็นพาร์ทิชั่นหลักหรือ Primary

– การตั้งค่าพาร์ทิชั่นให้เป็นพาร์ทิชั่นเสริมหรือ Logical

– สร้าง MBR ให้กับพาร์ทิชั่นหลักของฮาร์ดดิสก์

– การทดสอบพื้นผิวของฮาร์ดดิสก์

– การทดสอบพื้นผิวของพาร์ทิชั่น

– เปลี่ยนแปลงหมายเลขพาร์ทิชั่น

– เปลี่ยนประเภท ID ของพาร์ทิชั่น

– สามารถดาว์นโหลดโปรแกรมนี้ได้ฟรีที่เว็บไซต์ https://www.partitionwizard.com/free-partition-manager.html

ฟอร์เมตพาร์ทิชั่นฮาร์ดดิสก์ด้วยตัวช่วย Partition Wizard

                หากพาร์ทิชั่นฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เก็บไฟล์ข้อมูล มีไฟล์แปลกๆอยู่จำนวนไม่น้อย หรืออาจเป็นเพราะพาร์ทิชั่นฮาร์ดดิสก์ติดไวรัส เล่นเอาต้องไล่สแกนไวรัสและลบไฟล์ที่ไม่ต้องการ แต่กว่าจะสแกนไวรัสและลบไฟล์เสร็จ ก็เล่นเอาเสียเวลาไปไม่ใช่น้อย อย่างไรก็ตามมันมีนัยสำคัญ คุณมั่นใจอย่างไรว่าไวรัสถูกกำจัดออกจากพาร์ทิชั่นฮาร์ดดิสก์ไปหมดแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าคุณได้แบ็คอัพไฟล์ข้อมูลอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอบนพาร์ทิชั่นนี้คุณไม่ต้องกลัวว่าข้อมูลจะสูญหาย และมันคงถึงเวลาแก้ปัญหานี้ได้ง่ายๆด้วยกรรมวิธีฟอร์เมตพาร์ทิชั่นนั่นไงครับ หลังจากติดตั้งโปรแกรม Partition Wizard เสร็จแล้ว คุณก็สามารถเปิดโปรแกรมนี้ขึ้นมาใช้งานได้เลยทันที เมื่อปรากฏหน้าต่างโปรแกรมใช้งาน ดูสวย รวยเสน่ห์ น่าใช้เป็นยิ่งนัก ถ้าเป็นแบบนี้หลายคงชอบ เอาเป็นว่าไม่ให้เสียเวลา ในกรอบด้านขวาให้คุณเลือกพาร์ทิชั่นที่ต้องการฟอร์เมต โดยคลิกขวาบนพาร์ทิชั่น และเลือกเมนู Format จากนั้นก็คลิกปุ่ม Apply เพื่อเป็นการยืนยันว่าคุณต้องการทำกรรมวิธันี้จริงๆ สุดท้ายคุณก็จะได้พาร์ทิชั่นแบบใหม่ถอดด้ามไว้ติดตั้งวินโดวส์ใหม่ได้แล้วครับ ดังรูปที่ 1

Converted 4

รูปที่ 1 แสดงการสร้างพาร์ทิชั้นหลัก (Primary Partition)

หมายเหตุ : โปรแกรม Partition Wizard Home Edition ยังมีเวอร์ชั่นแบบ Bootable CD ให้คุณสร้างแผ่นบูตไว้ใช้งานในยามเข้าวินโดวส์ไม่ได้ หรือเรียกกรรมวิธีแบบนี้ว่า การใช้งานโปรแกรมนี้ผ่านโหมดดอส นั่นไงครับ

                เครื่องมือที่กล่าวมาข้างต้นคงช่วยให้คุณจัดการพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ตัวโปรดได้อย่างดีทีเดียว แบบว่าจะเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่ แบ็คอัพข้อมูล และอื่นๆ อย่างที่ใจหวังมันก็ทำได้ง่ายภายในพริบตาแบบว่าไม่ต้องมีนายหน้า และที่สำคัญเครื่องมือเหล่านี้ทำงานภายใต้วินโดวส์ครับ ถ้ามีเรื่องราวดีๆแบบนี้ต้องเผยแผร่…สาธุ

Latest

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

Newsletter

Don't miss

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

รวม 22 คีย์ลัด Windows Key ที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นพันเปอร์เซ็นต์

ปุ่ม Windows Key หน้าตาแบบนี้ ไม่ได้มีไว้ใช้แค่เรียกเมนู Start ขึ้นมาเท่านั้นนะครับ แต่ตัวมันใช้เป็นคีย์ลัดสำหรับการการทำงานบนวินโดวส์ได้หลายอย่างมาก วันนี้ผมขอรวบรวมคีย์ลัดของปุ่มนี้...

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime monitoring สมัยนี้มีหลากหลายเจ้า ปกติจะเก็บค่าบริการกันแบบ subscription รายเดือน แต่ถ้าใครไม่อยากจ่ายตังค์ วันนี้ผมมีโซลูชั่น สำหรับใครที่มีการใช้งาน NAS อยู่แล้ว เราจะเอา NAS มาทำเป็น uptime monitoring...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ ใช้มาหลอกเรา ส่งข้อความมาทาง inbox แจ้งว่าเพจทำผิดกฎ หรือ ละเมิดกฎเฟซบุ๊ก ให้กดลิงค์ เพื่อยืนยันตัวตน ไม่งั้นจะบล็อกเพจถาวร พอเรากดลิงค์เข้าไป จะเจอกับหน้าเพจ (คล้าย) เฟซบุ๊ก ซึ่งมีฟอร์มให้เราใส่ข้อมูลต่างๆ รวมถึง ชื่อเพจ อีเมล...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here